บริการจัดงานศพ
พิธีจีน
ข้อมูลน่ารู้
การแจ้งตาย คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน แจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง
กรณีตายด้วยโรคหรือชราภาพ
- หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย)
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง
- ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อสถานีตำรวจ ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
- สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อหาสาเหตุการตายและออกใบแจ้งการตายจากสถาบันฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
- ไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
กรณีตายในโรงพยาบาล
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีคนตายมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล)
- นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่
คนตายนอกบ้าน
- ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้
- บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก
- แจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือพบศพ
- ไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา
หมายถึงการที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการตายไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย
- นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณา รับแจ้งตายเกินกำหนด
การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหตุ
- ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พลศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพก่อนหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
- นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตาย
- นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป
การแจ้งตายในต่างประเทศ
- กรณีคนไทยไปตายในต่างประเทศ ให้ผู้รู้เห็นการตายไปแจ้งตาย ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- ในกรณีที่ซึ่งมีการตายไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ให้ใช้หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานมรณบัตรได้ การเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพไปจากสถานที่หรือบ้านที่มีการตาย
เมื่อนายทะเบียนได้ออกบัตรให้กับผู้แจ้งไปแล้ว โดยได้กรอกข้อความลงในช่องจัดการศพโดย เก็บ ฝังหรือเผา ณ สถานที่ใดเมื่อใด ต่อมาต้องการจะเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ดำเนินการดังนี้ หากจะจัดการศพผิดไปจากที่ได้เคยแจ้งไว้ โดยมิได้ย้ายศพไปต่างท้องที่ ให้ผู้แจ้งดำเนินการ ดังนี้
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งจะสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บ ฝังหรือเผา เป็นการเก็บ ฝังหรือเผาที่วัดใด เมื่อใดไว้ด้านล่างมรณบัตรตอนที่ 1
หากจะทำการย้ายศพเพื่อจะไปเก็บ หรือฝังในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมิใช่สถานที่เดิมที่แจ้งไว้ในกรณีนี้ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตให้ เก็บฝังจากสถานที่ใดไปสถานที่ใดเมื่อใด
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่จะย้ายศพเข้าไปดำเนินการใหม่เพื่อให้นาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ใหม่ได้สอบสวน และบันทึกการอนุญาตไว้ด้านล่าง มรณบัตร ตอนที่ 1 นั้น
- ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อความอนุญาตหลายครั้งในฉบับเดียวกันให้ถือข้อความอนุญาตครั้งหลังสุดเป็นหลัก
การขอแก้ไขรายการในมรณบัตร
- ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน